Category Archives: Uncategorized

ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

 
 

1. ลักษณะทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียใน หรือเอเชียกลาง
ส่วนคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
2. ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับอ่าวเบงกอล หรือ ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่าน เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะสุลาเวซี (ก.เซลีเบส) ประเทศอินโดนีเซีย
3. ขนาดที่พื้นที่
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร
4. อาณาเขต
1. ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศจีน
2. ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
3. ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย
4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวเบ่งกอล หรืออ่าวเมาะตะมะ ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ

มีทั้งหมด  11  ประเทศ  ดังต่อไปนี้

                  2. ประเทศพม่า
                  3. ประเทศไทย
                  4. ประเทศมาเลเซีย
                  5. ประเทศเวียดนาม
                  6. ประเทศกัมพูชา
                  7. ประเทศลาว
                  8. ประเทศฟิลิปปินส์
                  9. ประเทศสิงคโปร์
                  10. ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม 
                  11. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
 
 
1. ประเทศอินโดนีเซีย

 

 

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.moohin.com/about-thailand/neighbour/indonesia1.shtml

 

          อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ภาษาอินโดนิเซีย:Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

แหล่งที่มาของภาพ  : http://sfida.multiply.com/journal/item/280

ประวัติศาสตร์
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพของชาว อินโดนีเซียได้ อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย เพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลัง เนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช แต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับ อินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

เมืองหลวง  กรุงจาการ์ตา

การเมืองการปกครอง
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน


แหล่งที่มาของภาพ :http://www.thai2learn.com/opdc2/index.php?option=com_content&task=view&id=1744&Itemid=29

การแบ่งเขตการปกครอง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces – propinsi-propinsi) 2 เขตพิเศษ* (special regions – daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district – daerah khusus ibukota) ได้แก่

เกาะสุมาตรา
จังหวัดอาเจะห์*  จังหวัดสุมาตราเหนือ  จังหวัดสุมาตราใต้  จังหวัดสุมาตราตะวันตก  จังหวัดรีเยา  จังหวัดเกาะรีเยา  จังหวัดจัมบี  จังหวัดบังกา-เบลีตุง
จังหวัดเบงกูลู  จังหวัดลัมปุง
เกาะชวา
จาการ์ตา**  จังหวัดชวากลาง จังหวัดชวาตะวันออก จังหวัดชวาตะวันตก  จังหวัดบันเตน  จังหวัดย็อกยาการ์ตา*
หมู่เกาะซุนดาน้อย  

จังหวัดบาหลี  จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก   จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก
เกาะบอร์เนียว  

จังหวัดกาลีมันตันกลาง  จังหวัดกาลีมันตันใต้  จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก  จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก
เกาะซูลาเวซี  

จังหวัดโกรอนตาโล  จังหวัดซูลาเวซีเหนือ  จังหวัดซูลาเวซีกลาง  จังหวัดซูลาเวซีใต้  
จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้  จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก
หมู่เกาะโมลุกกะ
จังหวัดมาลุกุจังหวัดมาลุกุเหนือ
เกาะปาปัว
จังหวัดปาปัว
จังหวัดอีเรียนจายาตะวันตก

ภูมิประเทศ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียง กับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

ทรัพยากรและเศรษฐกิจ
ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

ประชากรและวัฒนธรรม

ประชากร 
อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 234 ล้านคน (พ.ศ. 2549) ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเชียน และนับถือศาสนาอิสลาม
เชื้อชาติ 
ชาวชวา 41.7% ชาวซุนดา 15.4% ชาวมาเลย์ 3.4% ชาวมาดูรีส 3.3% ชาวบาตัก 3% ชาวมินังกะเบา 2.7% ชาวเบตาวี 2.5% ชาวบูกิน 2.5% ชาวบันเทน 2.1% ชาวบันจารี 1.7% ชาวบาหลี 1.5% ชาวซาซะก์ 1.3% ชาวมากัสซาร์ 1% ชาวเชรีบอน 0.9% ชาวจีน 0.9% อื่นๆ 16.1%
ภาษา 
ชาวอินโดนีเซียมีภาษาที่ใช้เป็นทางการมีรากฐานมาจากภาษามลายู เรียกว่า ภาษาบาฮาซาอินโดนิเซีย
ศาสนา 
อินโดนีเซียมีมีศาสนาหลากหลาย โดย ศาสนาอิสลาม 87% ศาสนาคริสต์ 9.5% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1.8% ศาสนาพุทธ 1.3%
เงินตราประเทศอินโดนิเซีย
รูเปียห์ (Rupiah) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประมาณ 11,500 รูเปียห์ หรือถ้าเทียบเป็นเงินบาทคือ 1,000 รูเปียห์ต่อ 3
บาท โดยประมาณ

ดอกไม้ประจำชาติอินโดนิเซีย
ดอกไม้ประจำประเทศอินโดนีเซียคือดอกดาหลา

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ได้แก่ พื้นที่ตอนบนของทวีปแอฟริกา (ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทะเลทรายซาฮาร่าและดินแดนทางเหนือที่ติดกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) คาบสมุทรอาหรับ ลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย คาบสมุทรอนาโตเลียและที่ราบสูงอิหร่าน แม้จะเป็นดินแดนที่อยู่ต่างทวีปคือทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียแต่ก็มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมเนื่องจากประชากรเกือบทั้งหมด (ยกเว้นประเทศอิสราเอล) ต่างก็นับถือศาสนาอิสลาม จึงจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเดียวกัน

เขตนี้มีพื้นที่ประมาณ 11% ของพื้นดินของโลก ประชากรประมาณ 7% ของประชากรโลก ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 20 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ คูเวต จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ไซปรัส ตุรกี ตูนีเซีย บาห์เรน โมร็อกโก เยเมน ลิเบีย เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก อิสราเอล อิหร่าน อียิปต์ แอลจีเรีย โอมาน

ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติประมาณ 3% ของโลกเพราะแม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ที่ราบสูงและภูเขา แต่การค้นพบน้ำมันทำให้สามารถนำเงินตราเข้าประเทศไม่น้อย แหล่งน้ำมันกระจายไปตามประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย เช่น อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาราเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และประเทศที่อยู่ทางใต้ของคาบสมุทรอาหรับ เช่น โอมานและเยเมน ส่วนตอนบนของทวีปแอฟริกาก็มีแหล่งน้ำมันกระจายกันอยู่ที่แอลจีเรีย ลิเบียและอียิปต์

การอุดมไปด้วยน้ำมันในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้จึงทำให้เป็นที่ให้ความสนใจแก่ประเทศมหาอำนาจทั่วโลก การแทรกแซงทั้งทางทหาร ทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมของประเทศมหาอำนาจ ทำให้เขตนี้เป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้ง ประกอบกับการพัฒนาการเป็นประเทศของอิสราเอลโดยชาวยิว (ที่นับถือศาสนายิว) ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับดินแดนข้างเคียงมาตลอด

ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

 

  1. สาธารณรัฐอาร์เมเนีย
  2. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
  3. รัฐบาห์เรน
  4. สาธารณรัฐไซปรัส
  5. จอร์เจีย
  6. สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  7. สาธารณรัฐอิรัก
  8. รัฐอิสราเอล
  9. ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
  10. รัฐคูเวต
  11. สาธารณรัฐเลบานอน
  12. รัฐสุลต่านโอมาน
  13. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
  14. รัฐกาตาร์
  15. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
  16. สาธารณรัฐตุรกี
  17. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  18. สาธารณรัฐเยเมน

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีประเทศอะไรบ้าง

 

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีประเทศ 
ซาอุดีอาระเบีย 
อิหร่าน 
ตุรกี 
อัฟกานิสถาน 
เยเมน 
อิรัก 
โอมาน 
ซีเรีย 
จอร์แดน 
อาเซอร์ไบจาน 
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 
คูเวต 
กาตาร์ 
เลบานอน 
ไซปรัส 
บาห์เรน

 

ภูมิอากาศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ Climate of South west asi

 

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งเป็นทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย เพราะตั้งอยู่ในเขตที่ลมสงบ ไม่มีลมพัดเอาความชื้นจากทะเลสู่แผ่นดิน และมีที่ราบสูงและเทือกเขาปิดล้อมเกือบทุกด้าน จึงขวางกั้นทิศทางลมจากทะเล โดยแบ่งออกเป็น 3 เขต
1. เขตอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ทะเลทรายอาหรับ ทะเลทรายอิหร่านในอิหร่านและอัฟกานิสถาน
2. เขตอากาศแบบกึ่งทะเลทราย ได้แก่ บริเวณรอบๆ ทะเลทราย และที่ราบสูงอนาโตเลีย
3. เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนีย ชายฝั่งทะเลสาบแคสเปียน ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทริส-ยูเฟรตีส

 

ประวัติเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

                                                                Image

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก หรือ ตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง ล้อมรอบด้วยทะเล 5 แห่งคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง และดินแดนในภูมิภาคนี้มีความเจริญทางอารยธรรมอย่างมากเช่น อารายธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร มีศาสนาที่สำคัญคือศาสนาอิสลาม ศาสนายูดายของอิสราเอล และมีนับถือศาสนาคริสต์ในไซปรัส ปัจจุบันภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกแยกกันในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา

บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ตุรกี ไซปรัส อาร์เมเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน